กรอบกลยุทธ์การจัดการด้านความยั่งยืนของ เอส.พี.เอส.

นโยบายการจัดการด้านความยั่งยืน บริษัท เอส.พี.เอส.อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน)

บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างดำเนินธุรกิจเพื่อเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับโลก ด้านการเป็นอยู่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นในหลักการและแนวปฏิบัติบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โปร่งใส และให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและยั่งยืนใน 3 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

บริหารการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
เป้าหมาย

องค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน

ดัชนีชี้วัด

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การทบทวนค่าปีฐานของการปล่อยก๊าซเรือน กระจก

การสนับสนุนเป้าหมายการดำเนินการอย่างยั่งยืน

ลดปัญหาโลกร้อน

การบริหารจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน
เป้าหมาย

สร้างเครือข่ายการเป็นธุรกิจ BCG

ดัชนีชี้วัด

โครงการพัฒนาวัสดุเหลือใช้และของเสียเพื่อสังคม

การสนับสนุนเป้าหมายการดำเนินการอย่างยั่งยืน

สร้างนวัตกรรม BCG และการจัดการชุมชนที่ยั่งยืน

การยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เป้าหมาย

การได้รับรางวัลคุณภาพจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ

ดัชนีชี้วัด

มูลค่าทางสังคม และไม่มีร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

การสนับสนุนเป้าหมายการดำเนินการอย่างยั่งยืน

สร้างโอกาสการเรียนรู้และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี

  1. ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ การคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน การปกป้องสิทธิแรงงาน ความปลอดภัย สุขอนามัยและสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
  2. บริหารและพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะใหม่ที่จำเป็นของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
  3. สร้างคุณค่าร่วมของคนในชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  4. พัฒนาธุรกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ควบคู่กับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  5. ควบคุมและลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
  6. บรรเทาผลกระทบและปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
  7. ปฏิบัติตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม
  8. ปฏิบัติตามกฎหมายพันธสัญญา ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศและแนวปฏิบัติสากล
  9. เปิดเผยข้อมูลและผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใส พร้อมทั้งบริหารจัดการความเสี่ยง
  10. ปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง แสวงหาโอกาสให้เหมาะสมกับธุรกิจเพื่อความเติบโตอย่างยั่งยืน
  11. ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

ด้านสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ บริษัทได้ดำเนินการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบหลักคือไม้ และวัสดุที่ทำจากไม้ โดยมีพันธสัญญากับผู้ผลิตวัตถุดิบต้องอยู่บนพื้นฐานการจัดการไม้และสิ่งแวดล้อม โดยต้องไม่นำไม้ที่ผิดกฎหมายมาใช้เป็นวัตถุดิบขั้นต้น รวมถึงต้องเป็นไม้ที่ปลูกจากป่าที่มีการจัดการภายใต้ การจัดการป่าไม้ สามารถสอบกลับแหล่งที่มาของไม้ได้อย่างถูกต้องและคำนึงถึงการไม่ตัดไม้ทำลายป่า แม้กระทั่งวัตถุดิบที่นำมาทำไม้ที่ใช้จะเป็นเพียง ปีกไม้ กิ่งก้านของเศษไม้ที่เหลือจากการใช้มาผลิตเป็นไม้จริงปาติเกิ้ล ผู้ผลิตไม้แผ่นปาติเกิ้ลต้องมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อมภายใต้มาตรฐานสากล FSC-COC

ตลอดจน การใช้วัตถุดิบที่ไม่มีสารอันตรายเจือปนในสูตรการผลิต chemical เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยกำหนดให้มีการควบคุมการนำมาใช้ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ (ต้นทาง) ที่ต้องแสดงรายละเอียดสารเคมีในวัตถุดิบที่ส่งให้บริษัท พร้อมกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและสอบกลับการใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล

การบริหารจัดการพลังงาน บริษัทได้มุ่งมั่นและดำเนินการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน จากการดำเนินธุรกิจ ทั้ง 3 ขอบเขต จากการใช้ไฟฟ้าโดยการติดตั้งระบบโชล่าเซลล์บนหลังคาอาคารโรงงานเพื่อเพิ่มลดสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

การใช้วัตถุดิบ บริษัทมีกระบวนการออกแบบการใช้วัตถุดิบที่มี yield สมประโยชน์มากที่สุด เพื่อให้เหลือเศษการใช้น้อยที่สุด ผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ CFO Certificate

การอนุรักษ์พลังงาน บริษัทได้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยกำหนดเป็นเป้าหมายในกิจกรรมการใช้พลังงานเพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพในทุกกระบวนการเป้าหมายอย่างระบบมาตรฐาน โดยผ่านการรับรองภายใต้ระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001

ด้านสังคม

การดูแลสังคมรอบข้าง โดยบริษัทมีนโยบายดูแลชุมชน ด้วยการร่วมกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ โดยการพัฒนาองค์กรเข้าเป็นเครือข่าย BCG การบริหารด้านเศษวัสดุเหลือใช้ บริษัทส่งเสริมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมถึงการส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ เกิดรายได้ต่อชุมชน ทำให้มีรายได้ครอบครัวสูงขึ้น

บริษัท ส่งเสริมการลดการกำจัดของเสีย และขยะจากอุตสาหกรรมและขยะสำนักงาน ด้วยการคัดแยกขยะ ให้ครอบคลุมถึงการลดการเกิดขยะที่แหล่งกำเนิด ด้วยการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คิดก่อนใช้ (Reduce) ส่งเสริมการนำเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ (Reused) เช่นการนำกระดาษสำหรับงานธุรการมาใช้ให้ครบทั้ง 2 หน้าและ กระดาษรองชิ้นงาน ยางรองชิ้นงาน ในกระบวนการผลิต มาใช้ซ้ำ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมอื่น (Recycle)

การส่งเสริมกิจกรรมการวิเคราะห์แยกกากของเสียให้มีปริมาณน้อยและเกิดประโยชน์ใหม่ต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดการเกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการเกิดขยะและเศษอาหาร ขยะเปียก โดยปราศจากการฝังกลบ โดยนำเศษอาหารไปเป็นอาหารปลา ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา และนำเศษขยะเปียกไปเป็นส่วนผสมของขยะชีวมวล

การกำกับดูแล

บริษัท ได้คำนึงถึงการเป็นต้นแบบในอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐานและเป็นสากลมาประยุกต์ใช้ในทุกๆการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ และเกิดประโยชน์ในทุกๆด้าน เช่น มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่ต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงาน ผู้บริโภค จนได้มาตรฐานการยอมรับในระดับสากล SMETA มาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรม ที่คำนึงถึงผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและชุมชน จนได้มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4

รวมถึงมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ที่คำนึงถึงสังคมภายในและภายนอกของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการสนับสนุนการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน การเรียนรู้เพื่อการเติบโตของสังคม โดยโรงงานอุตสาหกรรมเจริญอยู่ได้ ส่งเสริมให้ชุมชนก็อยู่อย่างยั่งยืน ควบคู่กันไป